ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Turmeric - Turmeric, Curcuma
Turmeric - Turmeric, Curcuma
Curcuma longa L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Zingiberaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L.
 
  ชื่อไทย ขมิ้น
 
  ชื่อท้องถิ่น - ขมิ้น(คนเมือง,ไทลื้อ) - ขมิ้น (ทั่วไป), ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นแกง (เชียงใหม่), ขี้ขมิ้น หมิ้น (ภาคใต้), ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร),สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดิน (rhizome) รูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกด้านข้าง 2 ด้านตรงข้ามกัน เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ
ใบ เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. หุ้มซ้อนเป็นกาบใบแคบๆ มีร่องแผ่ครีบออกเล็กน้อย หน้าแล้งใบจะแห้ง ห้ามรดน้ำ เหง้าจะเน่า ถ้าฤดูฝน เหง้าแทงต้นใหม่และออกดอก ดอกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง บางครั้งละ 3-4 ดอก ก้านช่อดอกยาว 5-8 ซม. ใบประดับ (bract) สีเขียวอ่อนหรือสีขาวอมชมพู รูปหอกเรียงซ้อนกัน ใบประดับ 1 ใบมี 2 ดอก ใบประดับย่อย (bractole) รูปขอบขนานยาว 3-3.5 ซม. ด้านนอกมีขน เกสรตัวผู้ (stamen) มีลักษณะคล้ายกลีบดอก มีขน ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) รูปปากแตรเกลี้ยง รังไข่ (ovary) มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน (ovule) 2 ใบ
ผล รูปกลม มี 3 พูแต่พูมี 2 เมล็ด [3]
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน รูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. หุ้มซ้อนเป็นกาบใบแคบๆ มีร่องแผ่ครีบออกเล็กน้อย หน้าแล้งใบจะแห้ง ห้ามรดน้ำ เหง้าจะเน่า ถ้าฤดูฝน เหง้าแทงต้นใหม่และออกดอก ดอกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง บางครั้งละ 3-4 ดอก ก้านช่อดอกยาว 5-8 ซม. ใบประดับ (bract) สีเขียวอ่อนหรือสีขาวอมชมพู รูปหอกเรียงซ้อนกัน ใบประดับ 1 ใบมี 2 ดอก ใบประดับย่อย (bractole) รูปขอบขนานยาว 3-3.5 ซม. ด้านนอกมีขน เกสรตัวผู้ (stamen) มีลักษณะคล้ายกลีบดอก มีขน ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) รูปปากแตรเกลี้ยง รังไข่ (ovary) มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน (ovule) 2 ใบ
 
  ดอก -
 
  ผล ผล รูปกลม มี 3 พูแต่พูมี 2 เมล็ด [3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้นใต้ดิน ใช้เป็นเครื่องเทศ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เหง้า เป็นส่วนประกอบอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก แกง หรือใช้เป็นเครื่องเทศ(คนเมือง)
- เหง้า สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- เหง้า ตำแล้วคั้นน้ำ ใช้ทำสีย้อมผ้า ให้สีเหลืองส้ม(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง